หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตของคนไทยในหลายปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตของคนไทย ที่ทำให้มีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ แต่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถป้องกันและรักษาได้
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โดยวิธีการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันที่ได้รับความนิยมมีด้วยกันสองวิธี ได้แก่ การทำบอลลูนหัวใจที่เป็นการขยายเส้นเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดเพื่อป้องกันการที่หัวใจจะกลับมาตีบซ้ำที่บริเวณเดิม แต่หากบริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ ยังมีอีกหนึ่งวิธีการที่สามารถทำได้ คือ การทำบายพาสหรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้ายและเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านในมาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยอ้อมผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ โดยหลังจากการรักษาจะช่วยให้อาการเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ และยังเป็นการช่วยต่ออายุให้กับผู้ที่เป็นโรคหัวใจให้มีชีวิตต่อไปได้นานยิ่งขึ้น แต่มีผลวิจัยที่เป็นที่น่าตกใจคือ เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี พบว่าผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการทำบายพาสและบอลลูนหัวใจ มีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
ทำไมสิบปีผ่านไปผู้ที่ทำบายพาสและบอลลูนหัวใจถึงมีอัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
เนื่องจากการทำบอลลูนและการผ่าตัดทำบายพาสต่างก็มีระยะเวลาในการใช้งาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ได้อยู่ที่ราว ๆ 10 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ดังนั้นหากผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจกลับมามีอาการเหมือนเดิมหรือคล้ายเดิมหลังจากผ่านไปแล้ว 10 ปี ก็เป็นเพราะส่วนที่ได้รับการรักษาไปแล้วเริ่มหมดอายุการใช้งาน เริ่มมีไขมันเข้าไปอุดตันในจุดเดิมหรือจุดอื่น ถึงแม้จะมีอาการที่ดีขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาแต่ก็อาจส่งผลให้อาการหลอดเลือดหัวใจตีบกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในภายหลังและอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต จากทั้งการดำเนินของโรคเองและจากภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังในภายหลังอีกด้วย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตเมื่อทำบายพาสและบอลลูนหัวใจผ่านไปแล้ว 10 ปี
- อายุที่เพิ่มขึ้น: เมื่อเวลาผ่านไป แน่นอนว่าอายุของคนเราก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย อายุที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพร่างกายเสื่อมสภาพลง จนส่งผลให้การรักษาด้วยการทำบอลลูนหรือบายพาสหัวใจเมื่อ 10 ปีก่อน มีประสิทธิภาพลดลง และกลับมามีอาการเหมือนเดิม
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต: การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดี การไม่ควบคุมน้ำหนัก และการไม่ออกกำลังกาย ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของการกลับมาเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ
- โรคประจำตัว: โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบกลับมาเป็นซ้ำ และเกิดไขมันไปเกาะที่เส้นเลือดหัวใจส่งผลให้การทำบายพาสและบอลลูนหัวใจที่ผ่านมา หมดประสิทธิภาพไป
นอกจากนี้เองก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ เช่น การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หลังการรักษา เป็นต้น จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้ผู้ที่ทำบายพาสและบอลลูนหัวใจมาแล้วต้องผ่าตัดซ้ำ หรือหากรักษาไม่ทันก็อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
รักษาหัวใจให้แข็งแรงโดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัดที่ Longa Heart Health
ที่ Longa Heart Health Medical Center ศูนย์ดูแลรักษาหลอดเลือดและรักษาโรคหัวใจไม่ต้องผ่าตัด เป็นศูนย์ให้บริการครบวงจรด้านการดูแลสุขภาพหัวใจโดยไม่พึ่งพาการผ่าตัด เพราะเราทราบดีว่าภายในใจของผู้ป่วยนั้นกังวลมากแค่ไหนกับการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และไม่มีใครที่อยากพักฟื้นนาน ๆ หลังจากผ่าตัด ดังนั้นคงจะดีกว่าหากให้ทีมแพทย์และบุคลากรผู้มีประสบการณ์ด้านหัวใจและเส้นเลือดของเราช่วยคุณดูแลหัวใจให้แข็งแรงโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด