ความสำคัญของ #หลอดเลือดฝอย (𝘾𝙖𝙥𝙞𝙡𝙡𝙖𝙧𝙞𝙚𝙨) โดย 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
หลอดเลือดฝอย คือ หลอดเลือดขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ขนส่งเลือด สารอาหาร และออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ในอวัยวะต่างๆ และระบบต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดฝอยเป็นหลอดเลือดที่เล็กที่สุดในระบบหลอดเลือด
• ซึ่งเมื่อไหร่ที่หลอดเลือดฝอยทำงานผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น #โรคหลอดเลือดสมอง#โรคหัวใจ#โรคไต#โรคเบาหวาน หรือ #โรคผิวหนัง
หน้าที่ของหลอดเลือดฝอย
การแลกเปลี่ยนแก๊ส : หลอดเลือดฝอยจะนำพาออกซิเจนจากปอดไปส่งให้กับเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และรับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากเซลล์กลับมา
การแลกเปลี่ยนสารอาหาร : หลอดเลือดฝอยจะนำพาสารอาหารต่างๆ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุ ไปส่งให้เซลล์เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
การกำจัดของเสีย : หลอดเลือดฝอยจะรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย และกรดแลคติก ไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับถ่าย เช่น ไตและปอด
การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย : หลอดเลือดฝอยมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย
หลอดเลือดฝอยเสียหาย เป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ
เมื่อหลอดเลือดฝอยอุดตันหรือเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายได้ ตั้งแต่ความเสียหายเล็ก ๆ อย่างแผลที่ผิวหนังหายช้า ผิวแห้งกร้าน ผมร่วง เล็บเปราะ ตลอดไปจนถึงโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น การเกิดโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต โดยที่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำลายหลอดเลือดฝอยมีหลากหลาย เช่น
อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง
การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือด
ความดันโลหิตสูง
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย
ไขมันในเลือดสูง จนไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ
ขาดออกซิเจนเนื่องมาจาก การนอนหลับไม่เพียงพอ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ
ขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามินซี วิตามินอี จะทำให้หลอดเลือดฝอยอ่อนแอ
หลอดเลือดฝอยอุดตัน เป็นปัญหาสุขภาพที่มองข้ามไม่ได้ หลอดเลือดฝอยอุดตัน เป็นภาวะที่เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดฝอย จากเลือดที่แข็งตัวจนและจับตัวเป็นก้อนภายในเส้นเลือดกลายมาเป็นลิ่มเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ไม่สะดวก อาจส่งผลให้เซลล์ขาดออกซิเจนและสารอาหาร ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ
ตำแหน่งที่มักเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
ได้แก่ ลิ่มเลือดอุดตันที่ #หัวใจ#สมอง#ปอด และ #แขน#ขา
รู้หรือไม่ !
• ในปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดย 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
• ซึ่งในบางรายอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า โดยเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบตัน และภาวะลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำ
ทางเลือกของการรักษาโรคหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยทฤษฎี “เส้นเลือดฝอย“ ฟื้นฟูระบบหัวใจด้วยเทคโนโลยีพิเศษที่ 𝐋𝐨𝐧𝐠𝐚 𝐇𝐞𝐚𝐫𝐭 𝐇𝐞𝐚𝐥𝐭𝐡 𝐌𝐞𝐝𝐢𝐜𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫
เพราะเรื่องของหัวใจไม่ใช่เรื่องไกลตัว รีบดูแลก่อนจะสายไป 𝐋𝐨𝐧𝐠𝐚 𝐇𝐞𝐚𝐫𝐭 𝐇𝐞𝐚𝐥𝐭𝐡 𝐌𝐞𝐝𝐢𝐜𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫 เราดูแลเรื่องหลอดเลือดและหัวใจ และการรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด#ด๊อกเตอร์อิงค์ #LongaHeart
ดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นพ. รัตนพันธุ์ อินเจริญศักดิ์ (ด็อกเตอร์อิงค์ ลองก้าฮาร์ท)
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ และหลอดเลือด ประสบการณ์กว่า 40 ปี
(Internal Medicine / Board Certified Cardiology and Interventional Cardiology)
สามารถนัดปรึกษาได้ที่
𝐋𝐨𝐧𝐠𝐚 𝐇𝐞𝐚𝐫𝐭 𝐇𝐞𝐚𝐥𝐭𝐡 𝐌𝐞𝐝𝐢𝐜𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫 (Erawan Bangkok ชั้น 3)
• https://maps.app.goo.gl/DkuwoTpaSSwWUBfX6…
𝟎𝟗𝟗-𝟗𝟖𝟔𝟖𝟒𝟒𝟑
เราพร้อมช่วยคุณดูแลหัวใจและลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจลง ด้วยเทคนิคเฉพาะของ Longa Heart คุณหมอและทีมผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลหัวใจมายาวนานกว่า 40 ปี เพราะเราอยากให้คนไทยมีหัวใจที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาวเป็นร้อยปี
#โรคหัวใจ#โรคหลอดเลือดหัวใจ#ไม่ต้องผ่าตัด#ฟื้นฟูหลอดเลือดฝอย#นายแพทย์รัตนพันธุ์#DrInc#Cardiologist#LongaHeartHealthMedicalCenter#Beyond100#ErawanBangkok

- หลอดเลือดฝอย หน่วยเล็กๆที่สำคัญกับร่างกายและหัวใจ
- ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง รักษาหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างไร?
- ความดันโลหิตสูง เอาลงได้ ไม่ต้องใช้ยา
- ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ – ปัจจัยไหนเสี่ยงที่สุด?
- ผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ ได้ผลดีทุกคนจริงหรือ?