บายพาสหัวใจ (Heart Bypass Surgery) คือ วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการผ่าตัด ซึ่งมักใช้ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจโดนขัดขวางหรืออุดตัน จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนเพื่่อนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เต็มที่อย่างที่ต้องการ จึงต้องทำการผ่าตัดโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างช่องทางใหม่ให้เลือดสามารถไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดหัวใจวายที่อาจจะตามมาได้
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจถึงแม้จะเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษา แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลัก ๆ ได้แก่
- หัวใจเต้นผิดปกติ มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติหลังผ่าตัดบายพาสหัวใจ แต่อาการนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยารักษา
- การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หากไม่รักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดให้ดีพอ อาจทำให้แผลติดเชื้อได้
- การทำงานของไตลดลง ผู้ป่วยบางรายอาจมีการทำงานของไตที่ลดลงหลังการผ่าตัด ทำให้ต้องฟอกไต
- ปัญหาเกี่ยวกับสมอง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบายพาสอาจพบปัญหาในเรื่องการเรียนรู้ หรือการอ่านหนังสือ ซึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 6-12 เดือน แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจนกลายเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้มีปัญหาในการพูด การเคลื่อนไหว หรือการกลืนอาหารอย่างถาวรได้
- หัวใจวาย ในบางกรณีผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดในระหว่างผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้อาการยิ่งรุนแรงขึ้น และอาจทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากผ่าตัดบายพาสหัวใจแล้ว ผู้ป่วยยังคงมีภาวะเสี่ยงอยู่ไม่ว่าจะเป็นอาการเสี่ยงหลังจากการผ่าตัด หรืออยู่ในระยะพักฟื้น จะทำให้ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ จะมีผลของพยาธิสภาพต่อมาในภายหลัง ทำให้บางคนแม้ผ่าตัดแล้วแต่ยังมีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวันได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการผ่าตัด
สาเหตุที่ไม่ใช่ทุกคนที่ผ่าตัดบายพาสหัวใจแล้วจะได้ผลดีเหมือนกัน เพราะผลลัพธ์ของการผ่าตัดบายพาสหัวใจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- สภาพร่างกายก่อนผ่าตัด: ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงก่อนผ่าตัดโดยรวม มักจะมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ดีกว่า
- ความรุนแรงของโรค: ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้มากกว่า
- อายุ: ผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย
- โรคประจำตัว: โรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไต อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด
- การดูแลหลังผ่าตัด: หากผ่าตัดบายพาสหัวใจไปแล้ว ไม่ได้มีการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ตลอดช่วงระยะเวลาพักฟื้นที่ยาวนาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้เช่นกัน
รักษาหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้นนาน ไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อน
การผ่าตัดบายพาสหัวใจเป็นการรักษาโรคหัวใจที่ได้ผลดีก็จริง แต่อาจต้องแลกมากับการพักฟื้นนานขึ้นและเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนในบางอย่าง ที่ Longa Heart Health Medical Center เราเชื่อว่าทุกคนมีความจำเป็นที่ต่างกัน หรือแม้แต่บางคนอาจเคยผ่าตัดบายพาสหัวใจไปแล้วแต่ยังกลับมาเป็นซ้ำทำให้ไม่สามารถผ่าผัดได้อีกครั้ง เราจึงมุ่งเน้นไปที่การรักษาหัวใจให้กลับมาแข็งแรงโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยเทคนิคเฉพาะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์