ความดันโลหิตสูง เอาลงได้ ไม่ต้องใช้ยา
ความดันโลหิตสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่มักพบมากในผู้สูงอายุและผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ชอบกินของเค็มๆ หรืออาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง รวมไปถึงการมีความเครียดสะสมทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งโรคความดันโลหิตอาจไม่แสดงอาการ แต่กลายมาเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงโป่งพอง หรือไตวายที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและอาจทำให้ทุพพลภาพไปตลอดชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อแพทย์ตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงในตัวที่ผู้ป่วย จึงจำเป็นที่จะต้องให้กินยาเพื่อป้องกันความเสี่ยงนั้น
แต่อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่โรคที่รักษาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยต้องกินยาอยู่ตลอดและดูเหมือนกับว่าจะต้องกินยาต่อไปตลอดชีวิต ซึ่งโดยแท้จริงหากผู้ป่วยรับประทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะทำให้อาการดีขึ้นในช่วงแรก และยิ่งถ้าหากสามารถลด ละ เลิก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมไปได้ตลอดชีวิต การรับประทานยาก็อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป
ความดันแบบไหนที่เรียกว่า “ความดันโลหิตสูง”
ความดันปกติมีตัวบนเป็นแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่ และตัวล่างที่เป็นค่าแรงดันโลหิตในขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่ โดยความปกติของคนทั่วไปจะวัดได้ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่เป็นโรคภาวะความดันโลหิตสูงผิดปกติจะวัดความดันได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจไม่รู้ตัวเลยเพราะไม่มีการแสดงอาการ หรือบางทีอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ หากไม่ได้ทำการวัดความดันดู
อันตรายของความดันโลหิตสูงหากปล่อยทิ้งไว้
ภาวะความดันโลหิตสูงหากปล่อยทิ้งไว้นาน ไม่ยอมรักษาอาจทำให้อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลายจนเสียหายทั้งสมอง หัวใจ หลอดเลือด ไต หรือแม้กระทั่งดวงตา เพราะภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้นและมีรูที่เล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้อวัยวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงเหล่านั้นทำงานหนักและทำงานได้ไม่เต็มที่ ในกรณีที่อวัยวะถูกทำลายอย่างรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ไม่อยากพึ่งยาลดความดันแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง
สิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อควบคุมความดันโลหิตโดยไม่ต้องพึ่งพายา ได้แก่
- การปรับเปลี่ยนอาหาร:
- ลดการบริโภคเกลือ: เลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ เช่น ผักสด ผลไม้ และธัญพืช
- เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง: เช่น กล้วย ส้ม ผักใบเขียว
- ทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาอันมีไขมันสูง อะโวคาโด และถั่ว
- การออกกำลังกาย:
- ควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือการทำกิจกรรมที่คุณชอบ
- การควบคุมน้ำหนัก:
- รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักเกิน เพราะน้ำหนักที่ลดลงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
- การขจัดความเครียด:
- ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะ การทำสมาธิ หรือการฝึกหายใจลึกๆ
- การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์:
- การเลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
- การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ:
- การนอนหลับพักผ่อนอย่างถูกต้อง ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยเรื่องการลดการใช้ยาความดันในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ:
- ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณ
แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ
- ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณ
- ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และแม้ว่าคุณจะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แต่ก็อาจต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างต่อเนื่อง
- หากคุณกำลังทานยาควบคุมความดันโลหิต อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นอันตรายได้
ศูนย์ดูแลรักษาหลอดเลือดและรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด Longa Heart Health Medical Center ให้บริการดูแลฟื้นฟูหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินคุณภาพหัวใจและหลอดเลือดไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยทีมแพทย์ พยาบาล และผู้ร่วมสหวิชาชีพที่เชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เพราะเราเชื่อว่าทุกคนควรหมั่นตรวจสอบสุขภาพเป็นประจำ ไม่ว่าคุณจะเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหรือไม่ก็ตาม เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนและชีวิตที่ยาวนานของคุณ